ถอดบทเรียนความสำเร็จการประเมิน ITA Online 2565 ของสพม.พะเยา ด้วย PHAYAO Model
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา เข้ารับการประเมินประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (ITA Online) ประจำปีงบประมาณ 2565 จากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นครั้งแรกเนื่องจากเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตั้งใหม่ 20 เขต โดยนำ PHAYAO Model ขับเคลื่อนการดำเนินการประเมิน จนประสบผลสำเร็จ ดังนี้ อยู่ในระดับ AA ได้คะแนนร้อยละ 95.69
ว่าที่ร้อยโททวีป วงศ์ชาลีกุล ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา(สพม.พะเยา) ได้มอบนโยบายการดำเนินการบริหารจัดการโดยใช้ PHAYAO Model ในการขับเคลื่อน โดยได้รับความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรในสังกัด และผู้รับบริการจาก สพม.พะเยา ในการรับการประเมินครั้งนี้ โดยมอบหมายให้ นายเกรียงศักดิ์ ยอดสาร รองผู้อำนวยการ สพม.พะเยา, นายรุ่งศักดิ์ ชัยชนะสีพลี ผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการ และนายตัตถวิทย์ พุ่มวัชระ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เป็นผู้รับผิดชอบการประเมินในครั้งนี้
การขับเคลื่อนการดำเนินงานโดย PHAYAO Model ประกอบด้วย
P = Participation to Plan การวางแผนการทำงานอย่างมีส่วนร่วม ได้แก่ มีการประชุมวางแผนการดำเนินงาน การกำหนดเป้าหมาย การกำหนดผู้รับผิดชอบตัวชี้วัด จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต ประจำปี 2565 เป็นต้น
H = How to Do ทบทวน ตรวจสอบผลการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ ได้แก่ การประชุมทบทวนการทำงาน ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล นำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหา เช่นการวิเคราะห์ความเสี่ยง การประชุมติดตามงานทุกวันพุธ เป็นต้น
A = Active to Best การปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ ได้แก่ การปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้ เช่น การประกาศเจตจำนงสุจริตในการปฏิบัติงาน การประกาศนโยบายงดรับของขวัญ กิจกรรมเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ การผลิตสื่อดิจิทัลเพื่อกระตุ้นการรับรู้ เป็นต้น
Y = Yield การสรุปผลประจำปี ได้แก่ การสรุปผลการปฏิบัติงานตามแผน เช่น รายงานแผนปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตประจำปี 2564 รายงานสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี 2564 รายงานผลการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล เป็นต้น
A = Action to Goal การปรับปรุงพัฒนาสู่เป้าหมาย ได้แก่ การปรับปรุงพัฒนาระบบ WEB SITE สพม.พะเยา ให้ทันสมัย เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ไม่ซับซ้อน จัดให้มีช่องทางให้ผู้รับบริการได้แสดงความคิดเห็น, ช่องทางร้องเรียน, ช่องทางติดต่อสอบถาม ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยเชื่อมโยงจากหน้า WEB SITE สพม.พะเยา การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ การรับฟังข้อเสนอแนะจาก ก.ต.ป.น เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุง พัฒนาองค์กร เป็นต้น
O = Organization Innovation องค์กรแห่งนวัตกรรม ได้แก่ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงาน เช่น นำระบบ Google drive เชื่อมโยงจาก WEB SITE สพม.พะเยา บุคลากรทุกคนสามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา การติดตามข้อมูล โดยการส่งสติ๊กเกอร์นับเวลาถอยหลังผ่านช่องทาง Applicatoin Line เพื่อกระตุ้นให้ส่งงานตรงตามเวลา การให้บริการ E-Service เป็นต้น